|
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่องการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ระบบโดเมนเนม (DNSSEC : Domain Name System Security Extensions) |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/2_4-5_1%20DNSSEC.pdf
|
|
|
|
การจัดการความรู้ เรื่อง การให้บริการ eduroam |
การจัดการความรู้ ประจ าปีการศึกษา 2558 เรื่อง การให้บริการ eduroam โดย งานวิศวกรรม กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
คลิกดูรายละเอียด
|
|
|
|
ขั้นตอนการใช้งาน eduroam ในส่วนผู้ใช้งาน |
การใช้งาน eduroam ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิให้บริการเครือข่าย eduroam สำหรับผู้มาเยือนเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้าใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้งานที่ออกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิได้เนื่องจากสามารถเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่าย LeelawadeeNet ได้แต่เดิมแล้ว การเข้าเข้าใช้เครือข่าย eduroam มีกระบวนการยืนยันตัวบุคคลด้วยโปรโตคอล WPA (Wi-Fi Protected Access) และ EAP (Extensible Authentication Protocol) ผู้ใช้สามารถยืนยันตัวบุคคลเพื่อใช้งานเครือข่ายด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัด ในกรณีที่หน่วยงานนั้นเป็นสมาชิกของ eduroam ซึ่งสามารถสืบค้นรายชื่อหน่วยงานที่เป็นสมาชิก eduroam-th ได้จาก eduroam.uni.net.th หรือเว็บไซต์ผู้ประสานงานเครือข่าย eduroam ของแต่ละประเทศภูมิภาค
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิขอสงวนสิทธิ์ในการบันทึกประวัติการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
การใช้งาน eduroam สำหรับนักศึกษาและบุคคลากรเมื่อไปยังสถาบันอื่น
นักศึกษาและบุคคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถใช้งานเครือข่าย eduroam ได้จากสถาบันที่เข้าร่วม…
|
|
|
|
ขันตอนการติดตั้ง eduroam ในส่วนผู้ให้บริการ |
โดยขั้นตอนการเชื่อมต่อเครือข่าย eduroam ประเทศไทย มีดังนี้
1. ทางสถาบันการศึกษา/หน่วยงาน ต้องจัดเตรียม server สำหรับ eduroam ของสถาบันการศึกษา/หน่วยงานของท่าน จำนวน 1 เครื่อง และควรใช้ระบบปฏิบัติการเป็น linux หรือ Ubuntu พร้อมลง Freeradius version 2 ขึ้นไป
2. แจ้ง IP Address ของเครื่อง server ดังกล่าว มายัง email : noc@uni.net.th
3. เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานการการเชื่อมต่อเชิงเทคนิค
4. *เมื่อสถาบันการศึกษา/หน่วยงานของท่านดำเนินการเชื่อมต่อ eduroam เสร็จสิ้นแล้ว ให้แจ้งกลับมายัง noc@uni.net.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่บันทึกวันที่สถาบันการศึกษา/หน่วยงานของท่านสามารถใช้งาน eduroam-TH ได้ลงในระบบ
5. สถาบันการศึกษา/หน่วยงาน ที่ดำเนินการเชื่อมต่อ eduroam เสร็จสิ้นแล้ว…
|
|
|
|
ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อใช้ eduroam |
นักศึกษาและบุคคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิสามารถใช้งานเครือข่าย eduroam ได้จากสถาบันที่เข้าร่วม ผ่าน ssid eduroam ยืนยันตัวบุคคลด้วยบัญชีผู้ใช้พื่อเข้าใช้งานเครือข่าย เช่น username@rmutsb.ac.th ผู้ใช้งานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการที่หน่วยงานนผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนด สามารถสืบค้นรายชื่อสถาบันที่ให้บริการเครือข่าย eduroam ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหลักของประเทศไทย (eduroam.uni.net.th)
|
|
|
|
eduroam คืออะไร |
eduroam ย่อมาจาก “educational roaming” เป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนโดย TERENA ที่ก่อกำเนิดจากเครือข่ายการศึกษาและวิจัยของยุโรป (NRENs) เพื่อการใช้งานเครือข่ายที่เรียบง่าย ปลอดภัย และรองรับผู้ใช้งานที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้
โดย eduroam เป็นบริการเครือข่ายโรมมิ่งเพื่อการศึกษาและวิจัยสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกเครือข่าย eduroam เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานของสถาบันผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider)
eduroam เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 จากการสาธิตความเป็นไปได้สำหรับการให้บริการงานเครือข่ายโรมมิ่งข้ามเครือข่าย โดยการใช้มาตรฐาน 802.1x ทำงานร่วมกับ Radius Server ของแต่ละสถาบันเพื่อให้บริการกับนักศึกษาและนักวิจัยจากสถาบันสมาชิกจาก 5 ประเทศ ประกอบด้วย เนเธอเลนด์ ฟินแลน โปรตุเกส โครเอเชีย และสหราชอาณาจักร
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)…
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 6 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_%206%20300358.pdf
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 5 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_%205%20240358.pdf
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 4 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_%204%20180358%20.pdf
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 3 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_%203%20120358.pdf
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 2 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_%202%20060358.pdf
|
|
|
|
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานวิศวกรรม ครั้งที่ 1 |
www.cop.rmutsb.ac.th/userfiles/3141200026415/file/KM%2057/KM_1%20270258.pdf
|
|
|
|
การ Convert Server ไปยัง VMware มีหลายวิธี ซึ่งวิธีหนึ่งที่เป้นที่นิยมและได้ผลดีคือ การทำ Online Converter นั่นคือการ Convert จาก Physical Server ทั่วไป ไปที่ Run อยู่ไป ESX Server |
ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด VMware vCenter Converter Standalone จาก http://www.vmware.com/de/download/converter/ มาก่อน แล้วทำการติดตั้งลงบน Physical Server จากนั้นทำการ Restart Windows ซักรอบ (เพื่อความชัวร์)
1. เปิดโปรแกรม VMware vCenter Converter Standalone ขึ้นมา
2. คลิกเลือกที่ Convert Machine
3. เลือก Source type เป็น Power-on machine และเลือกเป็น This local machine (สามารถเลือก เครื่องอื่นได้ แต่ไม่ชัวร์เท่า Convert ตัวเอง) จากนั้น คลิกที่ Next
4. ในส่วนของ Destination เลือก…
|
|
|
|
การ Restore OS ใน VM |
การ Restore OS ใหม่ใน VM ESXI จะทำการถอยหลังกลับไปใช้ค่าเดิมของระบบได้ระยะเวลากี่วัน และมีวิธีการทำอย่างไรครับ
|
|
|
|
ประโยชน์ที่ได้รับการทำ Vlan |
- จำกัดการแพร่กระจายของบรอดคาสท์ทราฟฟิกไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของเน็ตเวิร์ก
- สามารถสร้างกลไกด้านความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้าง Access Control List บนอุปกรณ์เลเยอร์ 3 และ ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการดักจับข้อมูล (Sniffing)
- ผู้ใช้งานสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปยัง VLAN (Subnet) อื่นๆ ได้โดยเพียงแค่การเปลี่ยนคอนฟิกของสวิตซ์และ IP Address ของ Client เพียงนิดเดียว ไม่จ าเป็นต้องมีการย้ายสวิตซ์ หรือสายเคเบิลใดๆ
- สามารถรองรับการขยายตัวของระบบเน็ตเวิร์กที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ง่ายเนื่องจากมการวางแผนเกี่ยวกับการทำซับเน็ต และการดีไซน์ระบบที่ไม่ยึดติดกับทางกายภาพอีกต่อไป
|
|
|
|
Trunk Port คืออะไร |
เป็นพอร์ททำหน้าที่ คอนเนคสวิตซ์ตัวอื่นๆ ที่ต้องการให้เป็นสมาชิกของ VLAN ต่างๆกัน มาอยู่ด้วยกัน และ ท าหน้าที่ ส่งผ่านทราฟฟิกของ หลายๆ VLAN ให้ กระจายไปยังสวิตซ์ตัวอื่นๆ ที่มีพอร์ทที่ถูกก าหนดให้เป็น VLAN เดียวกันกับสวิตซ์ตัวต้นทางได้ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า UPLINK PORT ซึ่ง ตัวอย่างในการเซตพอร์ทให้เป็น Trunk Port นี้ ก็คือ
- พอร์ทที่ท าหน้าที่คอนเนคไปยังสวิตซ์ตัวอื่นๆ เช่น UPLINK PORT
- พอร์ทที่ท าหน้าที่เชื่อมไปยัง เราเตอร์ตัวที่ท าหน้า เราท์ทราฟฟิกระหว่าง VLAN
|
|
|
|
Dynamic Vlan คืออะไร |
Dynamic VLAN เป็นการก าหนด VLAN ให้กับเครื่องClient โดยพิจารณาจากหมายเลข MAC Address ของ Client ซึ่งเมื่อ Client ท าการเชื่อมต่อไปยังสวิตซ์ตัวใดๆ สวิตซ์ที่รัน Dynamic VLAN นี้ก็จะไปหาหมายเลข VLAN ที่ MAP กับ MAC Address นี้จาก Database ส่วนกลางมาให้ ซึ่ง System Administrator สามารถที่จะเซตหมายเลข MAC Address ในการจับคู่กับ VLAN ได้ที่ VLAN Management Policy Server (VMPS)
|
|
|
|
Static Vlan คืออะไร |
Static VLAN หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Port-Based Membership นั้น จะเป็นการพิจารณาความเป็นสมาชิกของ VLAN หนึ่งๆ โดยดูจากพอร์ท ซึ่งพอร์ทของสวิตซ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ Client นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็น พอร์ทของสวิตซ์เดียวกัน แต่หากพอร์ททั้งสองนั้นอยู่คนละ VLAN กัน ก็ไม่สามารถที่จะติดต่อกันได้ หากไม่มีอุปกรณ์ในเลเยอร์ 3 มาช่วยในการเราท์ทราฟฟิก ซึ่ง การเซตพอร์ทแต่ละพอร์ทให้เป็นสมาชิกของ VLAN ใดๆ นั้น จะถูกกระท าแบบ Manual จาก System Administrator
|
|
|
|
Vlan คืออะไร |
VLAN คือ การแบ่งกลุ่มของสวิตซ์ภายในเลเยอร์ 2 ที่ไม่ขึ้นกับ ลักษณะทางกายภาพใดๆ กล่าวแบบง่ายๆ ก็คือ เราไม่จ าเป็นที่จะต้องน าสวิตซ์มาต่อกันเป็น ทอดๆ เพื่อจัดกลุ่มของสวิตซ์ว่า สวิตซ์กลุ่มนี้คือ กลุ่มเดียวกัน แต่ เราสามารถที่จะ จัดกลุ่มให้ สวิตซ์ที่อยู่ห่างไกลกันออกไปนั้น เป็นสมาชิกของสวิตซ์อีกกลุ่มหนึ่งทางแนวตรรกกะ (Logical Design)
|
|
|
|
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย |
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น…
|
|
|
|
มาตรฐานของโปรโตคอล SIP |
SIP ย่อมาจาก Session Initiation Protocol เป็น Signaling อีกแบบหนึ่งของ VoIP เป็นมาตรฐานที่ใช้กำหนดกฏเกณฑ์การติดต่อสื่อสารระหว่าง SIP devices คู่หนึ่ง
ปัจจุบัน VoIP แบบ SIP นี้นะครับทำงานอยู่ภายใต้มาตรฐาน RFC 3261 (พัฒนามาจาก RFC 2543) ของหน่วยงานที่มีชื่อว่า IETF (Internet Engineering Task Force) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกมาตรฐานมากำกับดูแลการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก RFC ย่อมาจาก Request for Comments
|
|
|
|
Video on Demand คืออะไร |
ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์ หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการตามสโลแกนว่า
To view "What one wants. when one wants." โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networks)ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย(VideoClient)สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราวได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
|
|
|
|
Database คืออะไร |
database หรือ ฐานข้อมูล เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล มีซอฟแวร์ระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อช่วยให้การจัดเก็บและค้นหาข้อมูลโดยโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ เช่น ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย ฐานข้อมูลแบบกระจาย
|
|
|
|
Mobile Voip คืออะไร |
เป็นการผสมผสานของ 2 เทคโนโลยีคือ VoIP และการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก่อให้เกิดการขยายความคล่องตัวให้แก่ VoIP ทำให้ใช้งาน VoIP ได้จากทุกๆที่ๆมีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
มีอยู่หลายวิธีด้วยกันในการนำเครื่องโทรศัพท์มือถือมาอินติเกรดเข้ากับโครงข่าย VoIP วิธีการหนึ่งที่ใช้กันคือฝังโปรแกรมลงไปในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กลายเป็น SIP Client แล้วใช้โครงข่ายข้อมูล (ผ่าน GPRS, EDGE, 3G เป็นต้น) ในการรับส่ง SIP message เพื่อติดต่อกับ SIP Server และเมื่อคอนเน็คได้แล้วก็จะรับส่ง RTP ในช่องสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เหมือนปกติที่เราคุยโทรศัพท์ วิธีการเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์มือถือให้มีความสามารถเป็น SIP client นั้นนะครับ อย่างน้อยๆเครื่องโทรศัพท์จะต้องรองรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลทาง GPRS, EDGE, 3G, WiFi, WiMax, EVDO rev A เพราะมันต้องใช้ช่องทางเหล่านี้ช่องทางใดช่องทางหนึ่งในการรับส่ง Message กับ SIP Server…
|
|
|
|
ประโยชน์ของ Voip ที่เกิดกับองค์กร |
1. ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อลูกค้า หรือคู่ค้าทางธุรกิจ
ตามปกติบริษัทจะติดต่อกับลูกค้าโดยช่องทางการโทรศัพท์ เทคโนโลยี VoIP จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการโทรหาลูกค้าต่ำลง ปัจจุบันองค์กรต่างๆได้หันมาใช้บริการ VoIP แทบจะทั้งหมดแล้ว เพราะเห็นได้ชัดเจนว่าทำให้ประหยัดค่าโทรศัพท์ลงไปได้มาก ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง องค์กรขนาดใหญ่อาจจะลงทุนติดตั้งระบบ VoIP เป็นของตนเองและเช่าใช้เบอร์โทรศัพท์จากผู้ให้บริการเพื่อใช้ในการโทรออกในราคาต่ำ ส่วนองค์กรขนาดเล็กถึงปานกลางจะใช้วิธีการติดตั้ง VoIP Gateway, VoIP ATA หรือ IP Phone เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังผู้ให้บริการ VoIP
2. สามารถติดต่อกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ครั้งละปริมาณมากๆ
ด้วยเทคโนโลยี VoIP ซึ่งทำให้ค่าโทรศัพท์ลดลง และการประยุกต์ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Predictive Dialer โดยการบันทึกเสียงที่ต้องการประชาสัมพันธ์ไว้ก่อนแล้ว จากนั้นให้ระบบโทรหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายครั้งละหลายๆราย แล้วเล่นเสียงที่ต้องการสื่อถึงกลุ่มลูกค้า โดยไม่ต้องใช้พนักงานเป็นคนพูด หากลูกค้าต้องการข้อแนะนำเพิ่มเติมก็สามารถกดหมายเลขที่กำหนดไว้และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
3. การติดต่อกับบริษัทสาขาได้ถูกลง
ก่อนที่จะมีเทคโนโลยี VoIP การติดต่อระหว่างสาขาของบริษัทจะโทรผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเช่น TOT, TRUE, TT&T หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ระดับหนึ่ง แต่เมื่อมีการนำ VoIP…
|
|
|
|
ประโยชน์ของ Voip กับบุคคลธรรมดา |
1. ทำให้คนไทยได้ใช้โทรศัพท์ในราคาที่ถูกลง โดยเฉพาะโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ
ประโยชน์นี้มีผลโดยตรงต่อคนไทยครับ เมื่อก่อนการโทรทางไกลระหว่างประเทศมี กสท (การสื่อสารแห่งประเทศไทย - ชื่อใหม่คือ CAT Telecom) ผูกขาดเพียงเจ้าเดียว ค่าโทรศัพท์จึงแพง โทรแต่ละครั้งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและเมื่อเทคโนโลยี VoIP เข้ามา ก็ทำให้ค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศถูกลงมาก ตอนนี้โทรไปอเมริกาเริ่มต้นนาทีละไม่เกิน 50 สตางค์ สาเหตุก็เพราะค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำมาก ค่าดำเนินงานก็ต่ำ โครงข่ายระหว่างทางก็ไม่ต้องลงทุนเอง เพราะอาศัยโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบันไม่เพียงแต่คนไทยในประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้บริการ VoIP บรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว และศึกษา ก็ได้ใช้บริการนี้โทรกลับไปยังประเทศของตนเอง
2. เพิ่มช่องทางใหม่ๆในการติดต่อสื่อสาร
สมัยก่อนเรามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันไม่มากนัก เช่น โทรศัพท์ จดหมาย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันที่ VoIP เข้ามามีบทบาท ทำให้เรามีช่องทางในการติดต่อเพิ่มมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์รูปร่างแปลกๆที่ต่อกับสาย LAN แทนที่จะต่อกับเบอร์โทรศัพท์ (เรียกว่า IP Phone), WiFi…
|
|
|
|
Voip คืออะไร |
VoIP ย่อมาจาก Voice Over Internet Protocol
VoIP เป็นชื่อเทคโนโลยีในการส่งสัญญาณเสียงพูดและแฟ็กซ์ไปบนโครงข่ายไอพี (โครงข่ายไอพี หรือ Internet Protocol (IP) Network นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นอินเตอร์เน็ตนะครับ อาจเป็นในวง LAN หรือในโครงข่ายของบริษัทหรือสำนักงานแบบ Intranet ก็ได้ ที่รับส่งข้อมูลด้วยโปรโตคอลไอพี)
คำว่า "โปรโตคอล (Protocol)" หมายถึง กฏเกณฑ์ควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ เหตุที่ต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์ไว้เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะ พูดภาษาเดียวกัน เข้ากันได้ ทำงานร่วมกันได้ นั่นเองครับ โปรโตคอลจะทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การแปลงข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล การนำข้อมูลกับคืนมา เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีมาตรฐานกำหนดไว้ เช่น VoIP ก็มีมาตรฐานของมันซึ่งมีหลายมาตรฐานนะครับไม่ได้มีมาตรฐานเดียว
|
|
|
|
7 ขั้นตอนโปรแกรม Ulead Video Studio |
Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีจุดเด่นในเรื่องการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากโปรแกรมถูกออกแบบมาให้มีลำดับการทำงานที่เป็นขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบออกมาเป็นแผ่น VCD หรือ DVD โดยมีขั้นตอนหลัก 7 ขั้นตอนดังนี้
1. Capture เป็นขั้นตอนของการจับภาพวีดีโอเข้ามาในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจับภาพจากกล้องดิจิตอลวีดีโอผ่านการ์ด Fire Wire จับภาพจากกล้องอะนาล็อกวีดีโอผ่าน Capture Card หรือจะเป็นการจับภาพผ่านกล้อง Web Cam ที่ต่อผ่าน USB Port (ถ้าไม่ต้องการนำภาพวีดีโอจากภายนอกเข้ามาใช้งานหรือมีไฟล์วีดีโออยู่แล้ว สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้)
2. Edit โปรแกรมจะให้ผู้ใช้ตัดต่อวีดีโอ รวมถึงการเรียงลำดับคลิปต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. Effect เป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้สามารถใส่ Effect ต่างๆ…
|
|
|
|
Switch กับ Router แตกต่างกันอย่างไร ในด้าน Hardware |
ถ้าพูดถึงสวิตซ์ จะหมายถึงอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำงานใน layer 2 แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์พัฒนาไปมาก สวิตซ์ที่มีในปัจจุบันสามารถรองรับการทำงานที่ layer 3 ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำงานใน layer นี้จะรุ้จักในชื่อ "router" แต่ layer 3 switch หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทั้ง layer 2 และ 3
สำหรับข้อแตกต่าง ระหว่าง switch layer3 & router
switch จะผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ASIC หรือเป็นวงจรควบคุมสำหรับทำ switch โดยเฉพาะrouter จะผลิตโดยมาจาก processcer ทั่วไปและมี software ควบคุมการทำงานอีกทีนึงดังนั้นการทำงานของ switch ก้อจะเร็วกว่า router มาก
|
|
|
|
Hub กับ Switch แตกต่างกันอย่างไร |
การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายใต้ HUB จะใช้การส่งข้อมูลแบบกระจายไปถามทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ถ้าเครื่องไหนเป็นผู้รับปลายทางก็จะได้รับข้อมูลนั้นๆ แต่เป็น Switch จะมีการจำ MAC Address ของแต่ละเครื่องโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะส่งไปยังเครื่องปลายทางนั้นๆ เลย ทำให้การรับส่งข้อมูลเร็วกว่า HUB หลายเท่า
|
|
|
|
OSI Model คืออะไร |
The OSI model (Open system interconnection)
เป็นโมเดลอ้างอิงที่ทาง ISO (International standard organization) ได้ตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการแบ่งประเภทของฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการสื่อสาร โดยโมเดลนี้จะแบ่งฟังก์ชันการทำงานออกเป็น 7 layer
layer 1 (physical layer) เป็นลักษณะทางกายภาพของการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ เช่น ระดับแรงดันไฟฟ้ากระแส อุปกรณ์เชื่อมต่อ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่าง node กับ node ในเครือข่ายเดียวกัน
layer 2 (data link layer) เป็นส่วนของการกำหนดขอบเขต การเข้ารหัส รวมไปถึงกลไกการป้องกัน เช่น CRC จะเป็นการแจ้งจำนวน bits ซ้ำ เพื่อป้องกันการส่ง…
|
|
|
|
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย |
1. มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
|
|
|
|
ระบบเครือข่ายไร้สาย |
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN= Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่นำมาใช้ทดแทน หรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิมโดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และคลื่นอินฟราเรดในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องผ่านทางอากาศ ทะลุกำแพง เพดาน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย
|
|
|
|
TCP คืออะไร |
TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นโพรโตคอลที่ทำงานโดยอาศัย IP ในขณะที่ IP เป็นตัวจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันไปมาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทำหน้าที่ในการอนุญาตให้แอพลิเคชันแต่ละชนิด (หรือที่นิยมเรียกว่า "บริการ") ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อกันได้
|
|
|
|
ISP คืออะไร |
บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (บางครั้งเรียก ISPs) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provide เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกคะ ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับ บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ประเภทหลังนี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ ISP หลาย ๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม เช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สร้างเว็บไซต์ เช่น บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส หรือ บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ส่วนวิธีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ ISP ทำได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือ การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL)
|
|
|
|
การแบ่ง Class เครือข่าย IP Address |
การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น
โดยการทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ…
|
|
|
|
ข้อดีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ |
การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีดังนี้
1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไรท์เตอร์ ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
4. สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ ใบส่งขอ บัญชีต่าง ๆ ใบรายการ สินค้า เป็นต้น
5. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (Chat)
7. การประชุมระยะไกล (Videoconference)
8. การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น
9. การแชร์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น…
|
|
|
|
เอ็กส์ทราเน็ต คืออะไร |
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
|
|
|
|
อินทราเน็ต คืออะไร |
ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร…
|
|
|
|
อินเทอร์เน็ต คืออะไร |
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง…
|
|
|
|
IP ADDRESS คืออะไร |
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย
|
|
|
|
วิธีการเข้าสาย LAN |
วิธีการเข้าสาย LAN
การไขว้สายในกรณีใช้สาย UTP CAT5
ตัวผู้ (RJ45)ทำเหมือนกันทั้งสองหัวส้ม-ขาว
ส้ม
น้ำเงินขาว
เขียวขาว
เขียว
น้ำเงิน
น้ำตาลขาว
น้ำตาล
กรณีใช้สาย UTP CAT5 ไขว้โดยไม่ใช้ HUB (สองเครื่อง) หัวแรกต้องจัมป์เขียวขาว
เขียว
ส้มขาว
น้ำเงิน
น้ำเงินขาว
ส้ม
น้ำตาลขาว
น้ำตาล
หัวที่สองจัมป์
ส้มขาว
ส้ม
เขียวขาว
น้ำเงิน
น้ำเงินขาว
เขียว
น้ำตาลขาว
น้ำตาล
|
|
|
|
ชนิดของเครือข่าย |
ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)…
|
|
|